รักษาออทิสติก
Kids Learning Medical Parenting

จะทราบได้อย่างไรว่าลูกเราเป็นออทิสติก ? รู้ก่อน รักษาออทิสติกได้ทัน!

                คุณพ่อคุณแม่หลายคนคิดว่าการรักษาออทิสติกเป็นเรื่องไกลตัว แต่ทราบหรือไม่ว่าโรคออทิสติกนั้นใกล้ตัวมากกว่าที่คิด การหมั่นสังเกตพฤติกรรมของลูกจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเด็กในช่วงอายุ 2 – 3 ปีที่จะเริ่มแสดงอาการต่าง ๆ ให้เห็นได้ชัดมากขึ้น เพื่อช่วยให้คุณรักษาโรคออทิสติกได้ทันเวลาและช่วยให้ลูกมีพัฒนาการที่ดีขึ้น สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ โดยออทิสติกนั้นเป็นโรคที่เกิดจากความบกพร่องของสมองที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กในด้านต่าง ๆ เช่น การสื่อสาร การเข้าสังคม ด้านพฤติกรรม ด้านอารมณ์ และอื่น ๆ

เช็กด่วน! ลูกของคุณเสี่ยงออทิสติกหรือไม่ ? รู้ก่อน รักษาออทิสติกก่อน

  • พัฒนาการช้ากว่าปกติ หากเด็กมีอายุ 2 – 3 ปีแล้วยังไม่เริ่มพูดควรไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาออทิสติกได้ทัน เพราะโดยปกติแล้วเด็กจะเริ่มพูดเมื่ออายุประมาณ 1 ขวบและจะพูดประโยคยาว ๆ ได้มากขึ้นเมื่ออายุเข้า 2 ขวบ แต่หากลูกยังไม่พูดหรือไม่ส่งเสียงควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุ
  • ใช้นิ้วชี้แทนการเรียกหรือบอก เมื่อถึงช่วงวัยพูดแล้วแต่ไม่พูด แสดงความต้องการด้วยการใช้นิ้วชี้แทน หรือทำเสียงแปลก ๆ ในการสื่อสาร
  • ไม่ทำตามคำสั่ง เช่น การพูดตาม การยกมือ และการแสดงออกอื่น ๆ
  • ไม่สบตาเวลาพูด เมื่อพูดด้วยจะไม่สบตา มองไปทางอื่น ไม่ใช้สายตาในการสื่อสาร
  • ไม่แสดงอารมณ์ เช่น ไม่แสดงอาการดีใจเมื่อรู้สึกดีใจ ไม่แสดงอาการเศร้า เสียใจ หิว
  • แยกตัวอยู่คนเดียว เมื่อเข้าสังคมหรืออยู่รวมกับผู้อื่นจะแยกตัวออกมาอยู่คนเดียว ไม่เล่นกับเพื่อน ไม่สนใจผู้อื่น
  • ชอบกรีดร้อง เมื่อเกิดความรู้สึกต่าง ๆ จะแสดงการกรีดร้องออกมา เช่น โกรธ ไม่พอใจ
  • ทำร้ายร่างกายตัวเอง โดยเฉพาะตอนที่รู้สึกไม่พอใจ เช่น การใช้หัวโขกพื้นหรือกำแพง ทุบตีตัวเอง
  • สมาธิสั้น อยู่ไม่นิ่ง ไม่สามารถอยู่นิ่ง ๆ ได้ วิ่งหรือเดินอยู่ตลอดเวลา

วิธีการรักษาออทิสติก ทำได้กี่วิธี ?

  • กระตุ้นพัฒนาการ รักษาออทิสติกด้วยการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมองเพื่อกระตุ้นพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ เช่น การสื่อสาร การใช้อารมณ์ การฝึกสมาธิ และการเสริมสร้างความสนใจ
  • การปรับพฤติกรรม เพื่อการปรับตัวเข้ากับสังคม การอยู่ร่วมกับผู้อื่น และเพื่อช่วยลดพฤติกรรมอันตรายต่าง ๆ เช่น การทำร้ายผู้อื่น การทำร้ายตัวเอง การแสดงอาการก้าวร้าว
  • การใช้ยารักษา สำหรับเด็กที่มีอาการป่วยระดับรุนแรง เช่น การใช้ยาช่วยควบคุมความพฤติกรรมก้าวร้าว ยาช่วยควบคุมอาการขาดสมาธิ

                การรักษาออทิสติกยิ่งรู้เร็วยิ่งสามารถรักษาได้เร็ว และแม้ว่าจะเป็นโรคที่ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ชัดเจนว่าสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ก็เป็นโรคที่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและเสริมสร้างพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ให้ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมร่วมกับผู้อื่นได้